วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

กล้วย


ชื่อสามัญ: กล้วย

ชื่อพฤษศาสตร์: Musa L. ( กล้วยประเภทรับประทาน )

วงศ์:  MUSACEAE

ชื่อพื้นเมือง: อังกฤษเรียก บานาน่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียเรียก ปิซัง ( Pisang ) ฟิลิปปินส์เรียก ซาจิง ( Saging ) พม่าเรียก เง็กเปาตี ( Nget pyo thee ) เขมรเรียก ซิกนัมวา ( Cheek nam'vaa )

แหล่งกำเนิด: และการกระจาย กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฏว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด
แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า ดินแดนแถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย อาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมาก บริโภคกันมากเป็นอันดับแรกของทุกประเทศ 
สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง () และกล้วยงาช้าง น่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ส่วนในอินเดียได้รู้จักกล้วยกันมานานกว่าสามพันปีมาแล้ว โดยมีข้อความปรากฏตอนหนึ่งในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่า “ เมื่อนางเกาสุริยาได้ฟังว่า พระรามมิได้มีการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แล้ว พระนางถึงกับล้มราวกับต้นกล้วยถูกฟันด้วยคมมีด ” ปัจจุบันพันธุ์กล้วยที่สำคัญของไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และนครสวรรค์

กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา 
ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]

  ใบ ใบ (lower epidermis) สีขาวนวล ขนาดใหญ่กว้าง 0.7-1.0 เมตร ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลายใบ (midrib) แข็ง เส้นใบมีจำนวนมาก แยกออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจดขอบใบ ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ด้านกลางกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนนโคนแผ่ออกเป็นกาบ (sheath) 

  ดอก ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง เรียกหัวปลี ยาว 30-150 ซม. ก้านดอกช่อ (peduncle) แข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้ (staminate flower) และเพศเมีย (pistillate flower) ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับ (bract) ขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา 

  ผล ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]

  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,ม้ง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล ปลี หยวก รับประทานได้(เมี่ยน) 
หัวปลี ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง ยำ หรือรับประทานสด, ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
- ใบ สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ผลสุก ประกอบพิธีกรรม(คนเมือง) 
- ใบ ใช้ห่ออาหารหรือขนม(คนเมือง)
ลำต้น(หยวก) ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,เมี่ยน)
- เปลือกผล แก้ริดสีดวง
ผลกล้วยสุก แก้โรคท้องผูก ความดันโลหิตสูง คอเจ็บ บำรุงผิว รักษาอาการไม่ย่อย ท้องอืดมีกรดมาก สมานแผล แก้บิดมูกเลือด
ผลกล้วยดิบ แก้โรคท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหาร
ต้นและใบแห้ง นำมาเผากินครั้งละ ½-1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก ใบอ่อนอังไฟจนนิ่ม ใบกล้วยแก่ปิดรักษาตาอักเสบ
ใบกล้วย แก้ท้องเสีย ห้ามเลือด แก้บิด แก้ผื่นคันตามผิวหนัง 
ต้นกล้วย ทากันผมร่วงและกระตุ้นให้ผมงอก
หัวปลี บำรุงน้ำนม ยางจากปลีกล้วยหรือกาบกล้วย รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ไข้รากสาด ขับน้ำเหลืองเสีย
ดอกกล้วย แก้โรคเบาหวาน ประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน แก้โรคหัวใจ
เปลือกกล้วย แก้ปวดท้องประจำ แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม และคันเป็นผื่น แก้ฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
เหง้ากล้วยแห้ง ตำป่นทาท้องน้อยคนคลอดบุตรทำให้รกลอกภายหลังคลอดบุตร
ยางกล้วย ใช้ห้ามเลือด [3]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม